เครื่องหมายวรรคตอน คือ
เครื่องหมายที่ใช้เขียนกำกับคำ กลุ่มคำ ประโยค
หรือข้อความให้เด่นชัดเพื่อให้อ่านได้ถูกต้อง
และช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายได้ชัดเจนขึ้น
เครื่องหมายวรรคตอนในภาษาไทย
มีดังนี้
1. มหัพภาค ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน
มีรูปดังนี้ . มีหลักเกณท์การใช้ดังนี้
1. ใช้เพื่อแสดงว่าจบประโยคหรือจบความ เช่น
กรี น. กระดูกแหลมที่หัวกุ้ง.
2. ใช้เขียนไว้หลังตัวอักษร
เพื่อแสดงว่าเป็นอักษรย่อ เช่น
ม.ค. คำเต็มว่า มกราคม
3. ใช้เขียนไว้ข้างหลังตัวอักษรหรือตัวเลขที่บอกลำดับข้อ เช่น
1. ก. หรือ
1. 1.
ข.
2.
ในกรณีที่มีหัวข้อย่อย
ให้ใส่ลำดับข้อย่อยไว้หลังจุด เช่น
1.1 อ่านว่า หนึ่งจุดหนึ่ง
1.10 อ่านว่า หนึ่งจุดสิบ
4.1.12 อ่านว่า สี่จุดหนึ่งจุดสิบสอง
4. ใช้คั่นระหว่างชั่วโมงกับนาทีเพื่อบอกเวลา เช่น
9.30 น. อ่านว่า เก้านาฬิกาสามสิบนาที
5. ใช้เป็นจุดทศนิยม
แล้วจุดทศนิยมให้อ่านตัวเลขเรียงกันไป เช่น
2.345 อ่านว่า สองจุดสามสี่ห้า
10.75 วินาที อ่านว่า สิบจุดเจ็ดห้าวินาที
4.567 เมตร อ่านว่า สี่จุดห้าหกเจ็ดเมตร
ยกเว้น ในกรณีเงินตรา
ถ้าอ่านเป็นหน่วยเงินตราได้ ให้อ่านตามหน่วยเงินตรานั้น เช่น
10.50 บาท อ่านว่า สิบบาทห้าสิบสตางค์
7.75 ดอลลาร์ อ่านว่า เจ็ดดอลลาร์เจ็ดสิบห้าเซนต์
2. จุลภาค ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน
รูปดังนี้ , มีหลักเกณท์การใช้ดังนี้
1. ใช้คั่นจำนวนเลขนับจากหลักหน่วยไปทีละ 3 หลัก เช่น
1,500 อ่านว่า หนึ่งพันห้าร้อย
2,350,000 อ่านว่า สองล้านสามแสนห้าหมื่น
2. ใช้แยกวลีหรืออนุประโยคเพื่อกันความเข้าใจสับสน เช่น
นายเทิดศักดิ์ที่นั่งคู่กับนางยุพดี, เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
3. ใช้คั่นคำในรายการที่เขียนต่อ
ๆ กัน ตั้งแต่ 3 รายการขึ้นไป
โดยเขียนคั่นแต่ละรายการ ส่วนหน้าคำ "และ" หรือ "หรือ" ที่อยู่หน้ารายการสุดท้ายไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องหมายจุลภาค เช่น
พระรัตนตรัย คือ แก้ว 3 ประการ หมายถึง พระพุทธ, พระธรรม และพระสงฆ์
4. ใช้ในการเขียนบรรณานุกรม ดรรชนี และนามานุกรม เช่น
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว.
5. ใช้ในหนังสือประเภทพจนานุกรมเพื่อคั่นความหมายของคำที่มีความหมายหลาย
ๆ อย่าง เช่น บรรเทา ก. ทุเลหรือทำให้ทุเลา, ผ่อนคลายหรือทำให้ผ่อนคลายลง
3. วงเล็บ หรือ นขลิขิต ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน รูปดังนี้ ( ) มีหลักเกณฑ์การใช้ดังต่อไปนี้
1. ใช้กันข้อความที่ขยายหรืออธิบายไว้เป็นพิเศษ
เพื่อช่วยให้เข้าใจข้อความนั้นได้แจ่มแจ้งขึ้น เช่น มนุษย์ได้สร้างโลภะ
(ความโลภ) โทสะ (ความโกรธ) และโมหะ (ความหลงผิด) ให้เกิดขึ้นในใจของตัวเอง
2. ใช้กันข้อความที่บอกที่มาของคำหรือข้อความ เช่น
ชลี (กลอน) ก. อัญชลี, ไหว้
3. ใช้กับหัวข้อที่เป็นตัวอักษรหรือตัวเลข
ซึ่งอาจจะใช้เพียงเครื่องหมายวงเล็บปิดก็ได้ เช่น
(ก) หรือ ก)
(ข) หรือ
1)
4. ใช้กับนามเต็มที่เขียนใต้ลายมือชื่อ เช่น
วัชรพงศ์ โกมุทธรรมวิบูลย์
(นายโกมุท โกมุทธรรมวิบูลย์)
การอ่านออกเสียงข้อความที่มีเครื่องหมายวงเล็บ
มีวิธีการอ่านหลายวิธี สุดแท้แต่กาลเทศะ โอกาสหรือจุดประสงค์ของการสื่อสาร เช่น ถ้าจะอ่านเพื่อให้ผู้ฟังจดจำไว้ให้ถูกต้อง
ถ้าเป็นข้อความสั้น ๆ ควรอ่านว่า "วงเล็บ" ตัวอย่าง
พระยาศรีสุนทรโวหาร (ภู่) อ่านว่า พระยาศรีสุนทรโวหารวงเล็บภู่ หรือ
พระยาศรีสุนทรโวหารภู่ ก็ได้
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย
อาจาริยางกูร) อ่านว่า พระยาศรีสุนทรโวหาร วงเล็บน้อยอาจาริยางกูร
ถ้าข้อความนั้นยาวมาก
ให้อ่านว่า "วงเล็บเปิด"
แล้วอ่านข้อความในวงเล็บจนจบ แล้วอ่านว่า "วงเล็บปิด"
หรืออาจเสริมข้อความว่า "ต่อไปนี้เป็นข้อความในวงเล็บ" เมื่ออ่านหมดข้อความก็อ่านว่า
"หมดข้อความในวงเล็บ" ก็ได้
4. ยัติภังค์ ชื่อ เครื่องหมายหมายวรรคตอน รูปดังนี้ - อาจใช้ได้หลายขนาด แต่ไม่ควรเกิน 2 ช่องตัวอักษร
มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
1. ใช้เขียนไว้ที่สุดบรรทัดเพื่อต่อพยางค์หรือคำสมาส
ซึ่งจำเป็นต้องเขียนแยกบรรทัดกัน เนื่องจากมาอยู่ตรงสุดบรรทัด และไม่มีที่พอจะบรรจุคำเต็มได้
เช่น
ตำแหน่งประ- ธานสภาผู้แทนราษฎร
นายกราช-
บัณฑิตยสถาน
2. ใช้เขียนไว้ท้ายวรรคหน้าในบทร้อยกรอง
เพื่อต่อพยางค์หรือคำสมาส ที่จำเป็นต้องเขียนคาบบรรทัดกัน
เพื่อให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ เช่น
คนเด็ดดับสูญสัง- ขารร่าง
3. ใช้แยกพยางค์เพื่อบอกคำอ่าน
โดยเขียนไว้ระหว่างพยางค์แต่ละพยางค์ เช่น
เสมา อ่านว่า เส-มา
4. ใช้ในความหมายว่า
"และ" หรือ "กับ" เช่น
เชิญชมการแข่งขันฟุตบอลนัดพิเศษระหว่างทีม
นครสวรรค์ - พิจิตร (กับ)
ภาษาตระกูลไทย - จีน
(และ)
5. ใช้ในความหมายว่า
"ถึง" เพื่อแสดงช่วงเวลา จำนวน สถานที่
(เวลาเขียนหรือพิมพ์ให้เว้นหน้าและหลังเครื่องหมาย - ประมาณ 1 ช่วงตัวอักษร) เช่น
เวลา 9.00 - 10.30 น. อ่านว่า เวลาเก้านาฬิกาถึงสิบนาฬิกาสามสิบนาที
มีผู้ชมประมาณ 10- 20 คน อ่านว่า มีผู้ชมประมาณสิบถึงยี่สิบคน
ระยะทาง นครนายก -
จันทบุรี อ่านว่า ระยะทางนครนายกถึงจันทบุรี
6. ใช้เขียนแสดงลำดับย่อยของรายการที่ไม่ต้องใส่ตัวอักษร
หรือตัวเลขนอกลำดับงาน มีรายการคร่าว ๆ ดังนี้
- พิธีเปิดงาน
- รำอวยพร
- ดนตรีบรรเลง
- ปิดงาน
5. อัญประกาศ ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน
รูปดังนี้ " " มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
1. ใช้เพื่อแสดงว่าคำหรือข้อความนั้น
เป็นคำพูดหรือความนึกคิด เช่น ครูพูดกับนักเรียนว่า " ขอให้ทุกคนตั้งใจจริง แล้วจะประสบความสำเร็จ
"
2. ใช้เพื่อแสดงว่าคำหรือข้อความนั้นคัดมาจากที่อื่น
เช่น
สุนทรภู่เขียนเตือนใจเรื่องความมีไมตรีต่อกันไว้ในเรื่องพระอภัยมณีตอนหนึ่งว่า
" ปรารถนาสารพัดในปัถพี เอาไมตรีแลกได้ดังใจจง "
3. ใช้เพื่อเน้นคำหรือข้อความนั้นให้เด่นชัดขึ้น เช่น
คำว่า "ตะโก้"
พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายไว้ว่าหมายถึง
" ชื่อขนมชนิดหนึ่งทำด้วยแป้งข้าวเจ้ากวนเข้ากับน้ำตาล
ใส่แห้วหรือข้าวโพดเป็นต้นก็ได้ หยอดหน้าด้วยกะทิกวนกับแป้ง "
ในการอ่านออกเสียง เมื่อมีเครื่องหมายอัญประกาศเปิดให้อ่านว่า "อัญประกาศเปิด" และเมื่อถึงเครื่องหมายอัญประกาศปิดให้อ่านว่า
"อัญประกาศปิด"
ถ้าข้อความในเครื่องหมายอัญประกาศมีความยาวหลายย่อหน้าและใส่เครื่องหมายอัญประกาศเปิด
ไว้หน้าย่อหน้าทุกย่อหน้าดังตัวอย่าง ให้อ่าน "อัญประกาศเปิด" เฉพาะเมื่อเริ่มข้อความเท่านั้น
และอ่าน "อัญประกาศปิด" เมื่อจบข้อความ
6. ปรัศนี ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน
รูปดังนี้ ? มีหลักเกณฑ์การใช้ดังต่อไปนี้
1. ใช้เมื่อสิ้นสุดความหรือประโยคที่เป็นคำถาม
เช่น
ทำไมเธอถึงมาโรงเรียนสาย?
2. ใช้หลังข้อความเพื่อแสดงความสงสัยหรือไม่แน่ใจ
มักเขียนอยู่ในวงเล็บ เช่น
กฤษฎาธาร (กริดสะดาทาน) น. พระทีนั่งที่ทำขึ้นสำหรับเกียรติยศ
(?)
7. อัศเจรีย์ ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน
รูปดังนี้ ! มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
1. ใช้เขียนหลังคำ วลี
หรือประโยคที่เป็นคำอุทาน เช่น
อื้อฮือ ! มากจังเลย
2. ใช้เขียนหลังคำเลียนเสียงธรรมชาติ
เพื่อให้ผู้อ่านทำเสียงได้เหมาะสมกับเหตุการณ์ในเรื่องนั้น ๆ เช่น โครม !
8. ไม้ยมก หรือ ยมก ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน
รูปดังนี้ ๆ มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
ใช้เขียนหลังคำ วลี
หรือประโยค เพื่อให้อ่านซ้ำคำ วลี หรือประโยค อีกครั้งหนึ่ง ตัวอย่าง
1. เด็กเล็ก ๆ อ่านว่า เด็กเล็กเล็ก
2. ในวันหนึ่ง ๆ อ่านว่า ในวันหนึ่งวันหนึ่ง
3. แต่ละวัน ๆ
อ่านว่า แต่ละวันแต่ละวัน
หมายเหตุ
1. คำที่เป็นคำซ้ำ ต้องใช้ไม้ยมก หรือยมก (ๆ) เสมอเช่น สีดำๆ เด็กตัวเล็ก ๆ
2. ห้ามใช้ไม้ยมก หรือยมก
(ๆ) ในกรณีดังต่อไปนี้
2.1 เมื่อเป็นคำคนละบท
คนละความ เช่น
"ฉันจะไปปทุมวัน ๆ นี้" ผิด ต้องเขียนเป็น
"ฉันจะไปปทุมวันวันนี้"
2.2 เมื่อรู้คำเดิมเป็นคำ 2 พยางค์ ที่มีเสียงซ้ำกัน เช่น
นานา เช่น นานาชาติ นานาประการ
2.3 เมื่อเป็นคำคนละชนิดกัน เช่น
คนคนนี้มีวินัย (คน
คำแรกเป็นคำสามานยนาม คน คำหลังเป็นลักษณนาม)
2.4 เมื่อเป็นคำประพันธ์ เช่น
หวั่นหวั่นจิตคิดคิดครวญครวญหา
คอยคอยหายหลายหลายนัดผัดผัดมา
9. ไปยาลน้อย หรือ
เปยยาลน้อย ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน
รูปดังนี้ ฯ มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
1. ใช้ละคำที่รู้กันดีแล้วโดยละส่วนท้ายไว้เหลือแต่ส่วนหน้าของคำพอเป็นที่เข้าใจ เช่น
กรุงเทพฯ คำเต็มคือ กรุงเทพมหานคร
2. ใช้ละส่วนท้ายของวิสามานยนาม
ซึ่งได้กล่าวมาก่อนแล้ว เช่น
มหามกุฎราชวิทยาลัย เขียนเป็น มหามกุฎฯ
หมายเหตุ
ก.
สำหรับคำที่เป็นแบบแผน (ดังปรากฏในข้อ 1) ในเวลาอ่านจะต้องอ่านเต็มจึงจะนับว่าอ่านถูกต้อง
ข.
ถ้าไม่ใช่คำที่เป็นแบบแผน (ดังปรากฏในข้อ 2) จะอ่านเต็มหรือไม่ก็ได้
3. คำว่า " ฯพณฯ " อ่านว่า
"พะนะท่าน " ใช้เป็นคำหน้าชื่อ
หรือตำแหน่งข้าราชการผู้ใหญ่ ตั้งแต่ระดับรัฐมนตรีขึ้นไปและเอกอัครราชทูต เป็นต้น
เช่น ฯพณฯ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
ฯพณฯ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
10. ไปยาลใหญ่ หรือ
เปยยาลใหญ่ ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน รูปดังนี้ ฯลฯ มีหลักเกณฑ์การใช้ดังต่อไปนี้
1. ใช้สำหรับละข้อความข้างท้ายที่อยู่ในประเภทเดียวกันซึ่งยังมีอีกมาก
แต่ไม่ได้นำมาแสดงไว้ เช่น สิ่งของที่ซื้อขายกันในตลาดมี เนื้อสัตว์ ผัก น้ำตาล น้ำปลา ฯลฯ การอ่านเครื่องหมายไปยาลใหญ่หรือเปยยาลใหญ่ที่อยู่ข้างท้ายข้อความให้อ่านว่า
"ละ" หรือ "และอื่น"
2. โบราณใช้ละคำหรือข้อความที่อยู่ตรงกลางก็ได้
โดยบอกตอนต้นและตอนจบไว้ เช่น
พยัญชนะไทย 44 ตัว มี ก ฯลฯ ฮ การอ่านเครื่องหมายไปยาลใหญ่
ที่อยู่ตรงกลางข้อความ อ่านว่า "ละถึง"
11. ไข่ปลาหรือจุดไข่ปลา ชื่อเครื่องหมายวรรคตอน
รูปดังนี้ ... มีหลักเกณฑ์การใช้ดังต่อไปนี้
1. ใช้สำหรับละข้อความที่ไม่จำเป็นหรือไม่ต้องการกล่าวเพื่อจะชี้ว่า
ข้อความที่นำมากล่าวนั้นตัดตอนมาเพียงบางส่วน ใช้ได้ทั้งตอนขึ้นต้น ตอนกลาง
และตอนท้ายข้อความ โดยใช้ละด้วยจุดอย่างน้อย 3 จุด เช่น
" ...ภาษาไทยนั้นเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของชาติ
ภาษาทั้งหลายเป็นเครื่องมือของมนุษย์ชนิดหนึ่ง คือ
เป็นทางสำหรับแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งสวยงามอย่างหนึ่ง
เช่นในทางวรรณคดี เป็นต้น ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาเอาไว้ให้ดี
ประเทศไทยนั้นมีภาษาของเราเองซึ่งต้องหวงแหน ... เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล
จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ..." พระราชดำรัส ของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่ชุมนุมภาษาไทย
คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2505 "
2. ในบทร้อยกรอง
ถ้าละข้อความตั้งแต่1 บรรทัดขึ้นไป ให้ใช้เครื่องหมายไข่ปลา หรือ จุดไข่ปลา ยาวตลอดบรรทัด เช่น
เรื่อยเรื่อยมารอนรอน ทิพากรจะตกต่ำ
สนธยาจะใกล้ค่ำ คำนึงหน้าเจ้าตราตรู
..............................................................................
ปักษีมีหลายพรรณ บ้างชมกันขันเพรียกไพร
ยิ่งฟังวังเวงใจ ล้วนหลายหลากมากภาษา
ในการอ่านออกเสียง
เมื่อมีเครื่องหมายไข่ปลา หรือ จุดไข่ปลา ตามตัวอย่างข้างต้นควรหยุดเล็กน้อยก่อน
แล้วจึงอ่านว่า "ละ ละ ละ" แล้วหยุดเล็กน้อยก่อนอ่านข้อความต่อไป
12. สัญประกาศ ชื่อเครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ___ มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
คือ
ใช้ขีดไว้ใต้คำหรือข้อความที่สำคัญ เพื่อเน้นให้ผู้อ่านสังเกตเป็นพิเศษ เช่น
หลักการอ่านตัวเลขมีตีพิมพ์รวมอยู่ในหนังสืออ่านอย่างไร-เขียนอย่างไร
13. บุพสัญญา ชื่อเครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้
" มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
คือ
ใช้แทนคำหรือข้อความที่อยู่บรรทัดบนเพื่อไม่ต้องเขียนซ้ำอีก
แต่เวลาอ่านต้องอ่านซ้ำคำหรือข้อความข้างบนนั้นด้วย
ถ้าเป็นคำคำเดียวหรือเป็นข้อความไม่ยาวนัก
ให้ใส่เครื่องหมาย 1 ตัวแต่ถ้าเป็นข้อความยาว
จะใส่เครื่องหมายเกิน 1 ตัวก็ได้ เช่น
ขันน้ำพลาสติก จำนวน 3 ใบ ใช้ตักน้ำอาบและดื่มเวลาเช้า
" อลูมิเนียม
" 4 ใบ
"
" เย็น
14. ทับ ชื่อเครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้
/ อ่าน
"ทับ" เวลาเขียนไม่ต้องเว้นวรรคหน้าและหลังเครื่องหมาย
มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
1. ใช้ขีดหลังจำนวนเลข
เพื่อแบ่งจำนวนย่อยออกจากจำนวนใหม่ ส่วนมากเป็นบ้านเลขที่
และหนังสือราชการ สำหรับการอ่านบ้านเลขที่ มีหลักการอ่านดังนี้
บ้านเลขที่ที่มีเครื่องหมายทับ
"/" และบ้านเลขที่ที่ไม่มีเครื่องหมายทับ "/"
มีหลักการอ่านเหมือนกันคือ บ้านเลขที่ซึ่งมีตัวเลข 2 หลัก ให้อ่านแบบจำนวนเต็ม
ถ้ามีตัวเลข 3 หลักขึ้นไป
ให้อ่านแบบเรียงตัวเลขหรือแบบจำนวนเต็มก็ได้ ตัวเลขหลังเครื่องหมายทับ "/" ให้อ่านเรียงตัว เช่น
บ้านเลขที่ 10 อ่านว่า บ้าน - เลก - ที่ สิบ
บ้านเลขที่ 414 อ่านว่า บ้าน - เลก - ที่
สี่ - หนึ่ง - สี่ หรือ บ้าน - เลก - ที่สี่ - ร้อย -สิบ - สี่
บ้านเลขที่ 56/342 อ่านว่า บ้าน - เลก - ที่
ห้า - สิบ - หก ทับ สาม - สี่ - สอง
บ้านเลขที่ 657/21 อ่านว่า บ้าน - เลก - ที่ หก - ห้า - เจ็ด ทับ สอง - หนึ่ง หรือ
บ้าน - เลก - ที่ หก - ร้อย - ห้า - สิบ - เจ็ด ทับ สอง - หนึ่ง
กลุ่มตัวเลขที่เลข 0 นำหน้า อ่านเรียงตัวเสมอ เช่น
บ้านเลขที่ 1864/1108
อ่านว่า บ้าน -เลก -ที่
สูน - แปด - หก - สี่ ทับ หนึ่ง -
หนึ่ง - สูน - แปด
ส่วนหนังสือราชการนิยมอ่านเรียงตัว
เช่น
ที่
ศธ 0308/205
อ่านว่า ที่ - สอ - ทอ -
สูน - สาม - สูน - แปด ทับ สอง - สูน - ห้า
2. ใช้ขีดคั่นระหว่างเลขบอกลำดับศักราช
เช่น
คำสั่งโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม
ที่ 1/2543
3. ใช้ขีดคั่นระหว่างตัวเลขแสดงวัน
เดือน ปี เช่น 3/12/2543 (วันที่ 3 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2543)
4. ใช้ขีดคั่นระหว่างคำ
"และ" กับ "หรือ" เป็น "และ/หรือ" หมายความว่า
อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างก็ได้
"....ใช้ผสมและ / หรือโรยบนผิวหน้าวัสดุที่ทำเครื่องหมายบนผิวทาง..."
5. ใช้ขีดคั่นระหว่างคำ
แทนคำว่า "หรือ" หมายความว่าอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น
ตรอก/ซอย, อำเภอ/เขต
6. ใช้ขีดคั่นระหว่างคำ มีความหมายว่า "ต่อ" เช่น กิโลเมตร/ชั่วโมง
วิดีโอ เรื่องเครื่องหมายวรรคตอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น