การผันอักษร
คือ การออกเสียงพยางค์ที่ประสมด้วยพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ซึ่ง
เสียงวรรณยุกต์จะเปลี่ยนไป เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า
เสียงวรรณยุกต์จะเปลี่ยนไป เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า
ก่อนผันอักษรต้องเข้าใจเรื่องความหมายของคำต่อไปนี้ก่อน คือ
1. คำเป็น
คำตาย
คำเป็น หมายถึง
1. พยางค์ที่มีเสียงสระยาวในแม่ ก กา เช่น มา รู โต
2. พยางค์ที่มีพยัญชนะตัวสะกด แม่ กง กน กม เกย เกอว เช่น นาง กิน ปม นาย หิว
ข้อสังเกต เสียงสระของคำเป็นใน ข้อ 2 มีทั้งสระเสียงสั้นและเสียงยาว
คำตาย หมายถึง
1. พยางค์ที่มีเสียงสระสั้นในแม่ ก กา เช่น ปะ ติ ฉุ
2. พยางค์ที่มีพยัญชนะตัวสะกด แม่ กก กด กบ เช่น นก มัด รับ
ข้อสังเกต เสียงสระของคำตายใน ข้อ 2 มีทั้งสระเสียงสั้นและเสียงยาว
คำเป็น หมายถึง
1. พยางค์ที่มีเสียงสระยาวในแม่ ก กา เช่น มา รู โต
2. พยางค์ที่มีพยัญชนะตัวสะกด แม่ กง กน กม เกย เกอว เช่น นาง กิน ปม นาย หิว
ข้อสังเกต เสียงสระของคำเป็นใน ข้อ 2 มีทั้งสระเสียงสั้นและเสียงยาว
คำตาย หมายถึง
1. พยางค์ที่มีเสียงสระสั้นในแม่ ก กา เช่น ปะ ติ ฉุ
2. พยางค์ที่มีพยัญชนะตัวสะกด แม่ กก กด กบ เช่น นก มัด รับ
ข้อสังเกต เสียงสระของคำตายใน ข้อ 2 มีทั้งสระเสียงสั้นและเสียงยาว
2. พื้นเสียง
หมายถึงพยางค์ที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์ ต่อไปนี้จะเป็นการผันอักษรทีละหมู่
อักษรกลาง
พยัญชนะที่เรียกว่าอักษรกลางทั้ง 9 ตัว (ก จ ด ต ฎ ฏ บ ป อ ) เมื่อนำมาประสมกับ
สระเดียวกัน และใช้วรรณยุกต์ รูปเดียวกันจะออกเสียงวรรณยุกต์ได้ตรงกัน เช่น
ก่า จ่า ด่า ต่า บ่า ป่า อ่า
หมายถึงพยางค์ที่ไม่มีรูปวรรณยุกต์ ต่อไปนี้จะเป็นการผันอักษรทีละหมู่
อักษรกลาง
พยัญชนะที่เรียกว่าอักษรกลางทั้ง 9 ตัว (ก จ ด ต ฎ ฏ บ ป อ ) เมื่อนำมาประสมกับ
สระเดียวกัน และใช้วรรณยุกต์ รูปเดียวกันจะออกเสียงวรรณยุกต์ได้ตรงกัน เช่น
ก่า จ่า ด่า ต่า บ่า ป่า อ่า
อักษรกลางคำเป็น
พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ เช่น กา ดง จน ปม เตย กลอง
ผันด้วย ไม้เอก เป็นเสียงเอก เช่น ก่า ด่ง จ่น ป่ม เต่ย กล่อง
ผันด้วย ไม้โท เป็นเสียงโท เช่น ก้า ด้ง จ้น ป้ม เต้ย กล้อง
ผันด้วย ไม้ตรี เป็นเสียงตรี เช่น ก๊า ด๊ง จ๊น ป๊ม เต๊ย กล๊อง
ผันด้วย ไม้จัตวา เป็นเสียงจัตวา เช่น ก๋า ด๋ง จ๋น ป๋ม เต๋ย กล๋อง
จะเห็นว่าอักษรกลางคำเป็น
ผันได้ครบ 5 เสียง
และเสียงกับรูปวรรณยุกต์ตรงกัน
อักษรกลางคำตาย
พื้นเสียงเป็นเสียงเอก เช่น ปะ กาก จด โบก
ผันด้วย ไม้โท เป็นเสียงโท เช่น ป้ะ ก้าก จ้ด โบ้ก
ผันด้วย ไม้ตรี เป็นเสียงตรี เช่น ป๊ะ ก๊าก จ๊ด โบ๊ก
ผันด้วยไม้จัตวา เป็นเสียงจัตวาเช่น ป๋ะ ก๋าก จ๋ด โบ๋ก
( คำที่ยกตัวอย่าง เพียงเพื่อให้เห็นวิธีผัน อาจไม่มีที่ใช้เป็นปรกติในภาษาก็ได้)
อักษรต่ำ
พยัญชนะที่เรียกว่าอักษรต่ำทั้ง 24 ตัว (ค ค(ค.คน) ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ
ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ ) ถ้านำมาประสมกับสระเดียวกัน และใช้วรรณยุกต์รูปเดียวกัน
จะออกเสียงวรรณยุกต์ ได้ตรงกันทั้งหมู่ต่างกันแต่เสียงพยัญชนะต้นของพยางค์เท่านั้น เช่น
คัง งัง ชั่ง นั่ง ค้อน ช้อน ฟ้อน
ต่อไปนี้จะผันอักษรต่ำ
อักษรต่ำคำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ เช่น คา ซน โคน วาว เชย ผันด้วยไม้เอก เป็นเสียงโท เช่น ค่า ซ่น โค่น ว่าว เช่ย จะเห็นว่า อักษรต่ำคำเป็น ผันได้เพียง 3 เสียง คือ สามัญ โท ตรี
อักษรต่ำคำตาย
สระเสียงสั้น พื้นเสียงเป็นเสียงตรี เช่น คะ นัด รัก ผันด้วย ไม้เอก เป็นเสียงโท เช่น ค่ะ นัด รั่ก
สระเสียงยาว พื้นเสียงเป็นเสียงโท เช่น มาก เชิต โนต
ผันด้วยไม้โท เป็นเสียงตรี เช่น ม้าก เชิ้ต โน้ต จะเห็นว่า อักษรต่ำคำตาย สระเสียงสั้น ผันได้เพียง 2 เสียง คือ โท และตรี
(การผันคำตายด้วย ไม้จัตวามีผู้ใช้เป็น ครั้งคราว แต่ออกเสียงไม่สะดวกเหมือน
เสียงจัตวาของคำเป็น)
ผันด้วยไม้โท เป็นเสียงตรี เช่น ม้าก เชิ้ต โน้ต จะเห็นว่า อักษรต่ำคำตาย สระเสียงสั้น ผันได้เพียง 2 เสียง คือ โท และตรี
(การผันคำตายด้วย ไม้จัตวามีผู้ใช้เป็น ครั้งคราว แต่ออกเสียงไม่สะดวกเหมือน
เสียงจัตวาของคำเป็น)
อักษรสูง
พยัญชนะที่เรียกว่าอักษรสูง ทั้ง 11 ตัว (ข ข (ข.ขวด) ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ส ษ ห)
ถ้านำมาประสมกับ สระเดียวกัน และใช้วรรณยุกต์รูปเดียวกัน จะออกเสียงวรรณยุกต์
ได้ตรงกันทั้งหมู่ ต่างกันแต่พยัญชนะต้นของพยางค์ เท่านั้น เช่น
ข่า ฉ่า ส่า ข้า ฉ้า ส้า
ต่อไปนี้จะผันอักษรสูง
อักษรสูงคำเป็น พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา เช่น ขา ผง เขย สาว ผันด้วยไม้เอก เป็นเสียงเอก เช่น ข่า ผ่ง เข่ย ส่าว ผันด้วยไม้โท เป็นเสียงโท เช่น ข้า ผ้ง เข้ย ส้าว
อักษรสูงคำตาย พื้นเสียงเป็นเสียงเอก เช่น สะ ผลิ ฝาก ขูด ผันด้วยไม้โท เป็นเสียงโท แต่คำที่ผันได้ไม่มีที่ใช้หรือไม่มีความหมายจึงมิได้แสดงไว้
วิดีโอ เรื่องการผักอักษร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น